วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การใช้ ADJECTIVES DESCRIBING NOUNS ในภาษาอังกฤษ

การใช้ ADJECTIVES DESCRIBING NOUNS ในภาษาอังกฤษ


Adjectives (แอดเจ็กทิฟสฺ) หรือในภาษาไทยใช้ว่า “คุณศัพท์” หมายถึง คำที่ใช้เพื่อบรรยายคำนาม ซึ่งคำนามอาจจะเป็นคนหรือสิ่งของก็ได้
คุณศัพท์จะไม่มีการเปลี่ยนรูปไม่ว่าจะใช้บรรยายคำนามรูปเอกพจน์ พหูพจน์ เพศชาย เพศหญิง ฯลฯ คำคุณศัพท์ที่ควรทราบ ได้แก่
Adjectives            Adjectives
old (แก่ชรา, เก่า)     young (หนุ่ม, สาว), new (ใหม่)
big (ใหญ่)                  small (เล็ก), little (เล็ก)
white (สีขาว)            black (สีดำ)
tall (สูง)                     short (เตี้ย)
high (สูง)                   low (ต่ำ)
hot (ร้อน)                  cold (หนาว)
warm (อุ่น)               cool (เย็น)
lovely (น่ารัก)         ugly (น่าเกลียด)
rich (รวย)                 poor (จน)
happy (สุข)              sad (เศร้า)
clean (สะอาด)        dirty (สกปรก)
hungry (หิว)           full (อิ่ม)
full (เต็ม)                 empty (ว่างเปล่า)
right (ถูก)               wrong (ผิด)
left (ซ้ายมือ)           right (ขวามือ)
easy (ง่าย)              hard (ยาก)
heavy (หนัก)          light (เบา)
quiet (เงียบ)           loud (เสียงดัง), noisy (เอะอะเจี๊ยวจ๊าว)
quick (เร็ว)             slow (ช้า)
careful (ระมัดระวัง)    careless (ประมาท)
lucky (โชคดี)              unlucky (โชคร้าย)
clear (ชัดเจน)             unclear (ไม่ชัดเจน)
strong (แข็งแรง)       weak (อ่อนแอ)
hard (แข็ง)                 soft (นุ่ม)
โดยปกติ ตำแหน่งของคำคุณศัพท์มีได้ 3 แห่งคือ
1. วางหน้าคำนาม
ตัวอย่าง
He’s an old man.
เขาเป็นชายชรา
(คุณศัพท์ old วางหน้านาม man)
It’s a sunny day.
มันเป็นวันที่แดดจัด
(คุณศัพท์ sunny วางหน้านาม day)
2. วางหลัง The verb “be” เช่น is, are, am, was, were, be, been, being
ตัวอย่าง
It’s full.
มันเต็ม
(คุณศัพท์ full อยู่หลัง ’s = is)
Sara is hungry.
ซาร่าหิว
(คุณศัพท์ hungry อยู่หลัง is)
3. วางหลังคำกริยาต่อไปนี้คือ look (ดูเหมือนจะ), feel (รู้สึก), seem (ดู เหมือนจะ), become (กลายเป็น), turn (เปลี่ยนเป็น), smell (มีกลิ่น)
ตัวอย่าง
She looks worried.
เธอดูเหมือนจะวิตกกังวล
(คุณศัพท์ worried อยู่หลัง looks)
He seems sad.
เขาดูท่าทางเศร้า
(คุณศัพท์ sad อยู่หลัง seems)
ที่มา:รองศาสตราจารย์ทณุ  เตียวรัตนกุล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น